วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง 

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12


วันลอยกระทง

ประวัติวันลอยกระทง
        การลอยกระทงในเมืองไทย  มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง




กิจกรรมวันลอยกระทง
       1. นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
       2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศการ       
          ละเล่นพื้นเมือง เช่น  รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
       3. จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
       4. จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง




เหตุผลในการลอยกระทง
       1. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
       2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
       3. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต





การลอยกระทงในปัจจุบัน
            การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ



Credit : http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4551.html


การทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐิน


   กฐิน หมายถึง ชื่อพิธีทำบุญทางพระพุทธศาสนาหลังจากออกพรรษาภายในกำหนด 1 เดือน มีข้อควรทราบดังนี้
         1.เขตกฐิน ระยะเวลาให้พระรับกฐินได้คือตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน11 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
         2.ผ้ากฐินเป็นผ้าสบง ผ้าจีวร ผ้าสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่งใน 3 ผืนนี้
    กฐิน หมายถึง ไม้สะดึงผ้าที่ยกนำมาถวายแด่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้วที่เรียกเช่นนี้เพราะเวลาจะตัดใช้สะดึงทาบ การที่นำผ้าไปถวายเรียกว่า ทอดกฐิน
    การทอดกฐิน คือ การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่วัดใดวัดหนึ่งหรือสถานที่ใดที่หนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อให้พระได้มีผ้าเปลี่ยนใหม่การทอดกฐินจึงถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ ให้อานิสงส์แรง เพราะในปีหนึ่งแต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และจะต้องทำภายในเวลาที่กำหนดในการทอดกฐิน คือ 1 เดือนเท่านั้น โดยนับตั้งแต่วันออกพรรษา
         ก่อนการทอดกฐินจะต้องมีการจองกฐินก่อนโดยจะต้องไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาสแล้วเขียนปิดประกาศให้ทราบ และเมื่อจองเรียบร้อยและได้หมายกำหนดการเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจะต้องจัดเตรียมเครื่องกฐินซึ่งได้แก่ ผ้าจีวรหรือผ้าสบงหรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง และเครื่องบริขาร บริวารกฐิน ซึ่งอาจจะถวายเป็นปัจจัยสี่หรือถวายเป็นส่วนกลางเพื่อเป็นประโยชน์กับสงฆ์
         วันก่อนการทำพิธีทอดกฐิน 1 วันเรียกว่า วันสุกดิบ ทุกคนจะมาช่วยกันเตรียมสถานที่ ปักธงเตรียมเครื่องใช้สำหรับถวายพระและของที่จะต้องใช้ในพิธีในวันงานทอดกฐินนิยมจัดงาน 2 วันคือ วันแรกจะเป็นวันตั้งองค์พระกฐินซึ่งอาจจะเป็นที่บ้านเจ้าภาพหรือที่วัดก็ได้ ตอนกลางคืนก้จะมีมหรสพ ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่สองก็จะเป็นวันทอด ซึ่งจะมีการแห่ไปตอนเช้าและเลี้ยงพระเพล หรืออาจจะทอดในตอนเพลก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของเจ้าภาพ หากเป็นกฐินสามัคคี คือ มีหลายเจ้าภาพซึ่งแยกกันตั้งองค์กฐินตามบ้านของตนเอง ให้แห่มาทอดรวมกันในวันรุ่งขึ้นเพราะแต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น



พิธีทอดกฐิน จะมีพิธีสำคัญ 2 ขั้นตอน คือ
         1. การถวายผ้ากฐิน เมื่อถึงเวลาที่พระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพก็จะอุ้มผ้ากฐินนั่งตรงต่อหน้าพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ หันมาทางพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ เช่นกัน เมื่อพระสงฆ์กล่าวรับ เจ้าภาพก็จะประเคนผ้าไตรกฐิน และเครื่องปัจจัยต่างๆ หลังจากนั้นพระสงฆ์จะลงความเห็นว่าพระรูปใดมีจีวรเก่าก็จะพร้อมในกันถวายให้พระรูปนั้นแล้วพระสงฆ์ก็จะสวด อนุโมทนา และเจ้าภาพก็จะกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี
คำถวายผ้ากฐิน (กล่าวนะโม 3 จบแล้วตามด้วย)
         “อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะ ระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง ปะฏิคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
         สวดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มคำว่า ทุติยัมปิ นำหน้าแล้วสวดซ้ำเหมือนเดิม สวดซ้ำเป็นครั้งที่สามโดยเพิ่มคำว่า ตะติยัมปิ นำหน้าแล้วสวดซ้ำเหมือนเดิม คำแปล “ข้าแต่พระสงฆ์ ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ผ้ากฐินพร้อมทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย รับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ”
        
        2.พิธีกรานกฐิน เป็นพิธีทางฝ่ายสงฆ์ โดยเฉพาะภิกษุที่ได้รับมอบผ้ากฐิน จะมีการกล่าววาจากรานกฐินตามลักษณะของผ้าที่กราน



อานิสงส์ของกฐินที่ได้กับพระสงฆ์
 1. พระสงฆ์สามารถออกไปนอกวัดได้โดยไม่ต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
 2. พระสงฆ์ขาดจากผ้าสังฆาฏิ หรือผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรได้ เอาจีวรไปไม่ครบสำรับได้
 3. พระสงฆ์สามารถฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
 4. พระสงฆ์สามารถเก็บจีวรได้ตามปรารถนา
 5. พระสงฆ์ได้ลาภต่างๆ ที่เกิดขึ้น



อานิสงส์ของกฐินสำหรับผู้ทอด
         ผู้ทอดกฐินมีความเชื่อว่าการทอดกฐินเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว และสามารถบริจาคได้ทั้งสมบัติและยังเป็นการบอกบุญแก่ญาติมิตรให้มาร่วมทำบุญ ทำกุศลในครั้งนี้ด้วย


Credit : http://www.9bkk.com/article/custom/custom11.html

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

My Profile





ชื่อ : อัครรัศม์  ฐิติพัทธกุล
 
ชื่อเล่น : ภูมิ
 
ชั้น ม.3/3  เลขที่ 29
 
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
 
วันเกิด : 18 กันยายน 2540
 
วิชาที่ชอบ : พละ
 
สีที่ชอบ : เขียว
 
กีฬาที่ชอบ : ฟุตบอล
 
งานอดิเรก : เล่นกีฬา
 
อาหารที่ชอบ : มาม่า
 
วงดนตรีที่ชอบ : Tattoo Colour